ต้านอนุมูลอิสระ
สารประกอบฟินอลิกในมะกอกสามารถเพิ่มระดับกูลต้าไทโอนในเลือดในอาสาสมัครสุขภาพดี
อาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 98 คน ซึ่งถูกคัดเลือกมาจากศูนย์การแพทย์ปริ้นซ์คอร์ตในประเทศมาเลเซีย ได้ถูกนำไปตรวจเลือดเพื่อตรวจระดับกลูตาไธโอน โดยตรวจก่อนที่จะได้รับสารสกัด และหลังได้รับสารสกัด 1 ชม. พบว่าระดับกลูตาไธโอนในเลือดเพิ่มขึ้นแต่ไม่พบความแตกต่างของประสิทธิภาพในการต้านออกซิเดชั่น
ก่อนได้รับ
|
หลังได้รับ
|
|
ระดับ GSH(mM) ในเลือด
|
1.794
|
2.837
|
ระดับ GSSH(mM) ในเลือด
|
0.403
|
0.741
|
GSH คือ กูลต้าไทโอนในรูปรีดิวซ์, GSSH คือ กูลต้าไทโอนในรูปอ๊อกซิไดซ์
ทั้งนี้การเพิ่มของระดับกลูต้าไธโอนอาจเกี่ยวข้องกับการทำงานของเอนไซม์ g-glutamylcysteine ligase และ glutathione synthetase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์กูลต้าไทโอนในร่างกาย
ไฮดรอกซีไทโรซอล สามารถเพิ่มระดับกลูต้าไธโอนในเซลล์นิวโทรฟิล และเพิ่มกิจกรรมการทำงานของเอนไซม์ กูลต้าไธโอนเปอร์ออกซิเดส (GPx) ในเซลล์ลิมโฟซัยท์ ได้ในอาสาสมัครสุขภาพดี
ที่มา : Baeza, I., et al. "Effect of oil (sunflower oil) consumption with added hydroxytyrosol (natural antioxidant) on antioxidant variables in leucocytes from healthy adults." Proceedings of the Nutrition Society 67.OCE1 (2008).
น้ำมันมะกอกที่มีปริมาณสารประกอบฟินอลิกสูงสามารถบรรเทาภาวะการเกิดอ๊อกซิเดชั่นภายในร่างกายได้
ผลต่อการเกิดภาวะออกซิเดชั่นภายในร่างกาย
ปริมาณสารประกอบฟินอลิกในน้ำมันมะกอก
|
|||
สูง(HPC)
|
กลาง(MPC)
|
ต่ำ(LPC)
|
|
การเกิดอ๊อกซิเดชั่นของ LDL
|
ลดลง 25.2%
|
ไม่เปลี่ยนแปลง
|
ไม่เปลี่ยนแปลง
|
ปริมาณ 8-oxo-dG ใน DNA
|
ลดลง 49.2%
|
ลดลง
~38%
|
ลดลง
~31%
|
ปริมาณ 8-oxo-dG ใน ปัสสาวะ
|
ลดลง 51.67%
|
ลดลง
~20%
|
ลดลง
~19%
|
ปริมาณ MDA ในปัสสาวะ
|
ลดลง 59.7%
|
ลดลง
~25%
|
ลดลง
~20%
|
กิจกรรม Glutathione Peroxidase
|
เพิ่มชึ้น 9.8%
|
เพิ่มขึ้น ~6.3%
|
เพิ่มขึ้น
4.4%
|
ระดับคลอเรสเตอรอล HDL
|
เพิ่มขึ้น 7.7%
|
เพิ่มขึ้น 7.1%
|
เพิ่มขึ้น~2.3%
|
8-oxo-dG หรือ 8-oxo-7,8-dihydro-2’-deoxyguanosine เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่บ่งบอกถึงการเกิดอ๊อกซิเดชั่นของ DNA
MDA หรือ malondialdehyde เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่บ่งบอกถึงการเกิดอ๊อกซิเดชั่นของไขมัน
Glutathione peroxidase เป็นเอนไซม์ที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระไฮโดรเจนเปอร์อ๊อกไซด์ในร่างกาย
ผลต่อระดับสารประกอบฟินอลิกที่พบในน้ำมันมะกอกในเลือด
ระดับสารประกอบฟินอลิกของน้ำมันมะกอกในเลือด ได้แก่ ไธโรซอล, ไฮดรอกซีไธโรซอล และ เมทิลไฮดรอกซีไธโรซอล(3-O-methyl-hydroxytyrosol) เพิ่มขึ้นแปรผันตามปริมาณสารประกอบฟินอลิกในน้ำมันมะกอก
ที่มา: Weinbrenner, T., Fito, M., de la Torre, R., Saez, G. T., Rijken, P., Tormos, C., ... & Covas, M. I. (2004). Olive oils high in phenolic compounds modulate oxidative/antioxidative status in men. The Journal of nutrition, 134(9), 2314-2321.
เพิ่มการต้านการออกซิเดชั่น LDL โดยภูมิคุ้มกัน
![]() |
แผนภูมิแท่งแสดงระดับ OLAB ในเลือดของกลุ่มอาสาสมัครที่ได้รับน้ำมันมะกอกที่มีปริมาณโพลีฟินอลต่างๆ (LPC: ต่ำ, MPC: ปานกลาง และ HPC: สูง) |
ที่มา: Castañer, Olga, et al. "The effect of olive oil polyphenols on antibodies against oxidized LDL. A randomized clinical trial." Clinical Nutrition 30.4 (2011): 490-493.
การรับประทานน้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้นเพิ่มเติมจากอาหารประจำวันจะช่วยให้ภาวะการต้านออกซิเดชั่นดีขึ้นในผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี
เป็นการศึกษาในผู้สุงอายุจำนวน 62 คนซึ่งมีอายุอยู่ในช่วง 65-96 ปี โดยแบ่งผู้ทดสอบออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้รับประทานอาหารตามปรกติ ส่วนอีกลุ่มรับประทานอาหารตามปรกติแต่ให้เพิ่มน้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้นอีกวันละ 50 มล. เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่ได้รับน้ำมันมะกอกมีระดับ LDL ลดลง HDL เพิ่มขึ้น และมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในเลือดเพิ่มขึ้น
![]() |
"I take lots of antioxidants. That's why I'm still on the first of my nine live" |
โรคหัวใจ
ลดปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ
ที่มา : Covas, M. I., Nyyssönen, K., Poulsen, H. E., Kaikkonen, J., Zunft, H. J. F., Kiesewetter, H., ... & Marrugat, J. (2006). The effect of polyphenols in olive oil on heart disease risk factors. Ann Intern Med, 145(5), 394-395.
การรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำมันมะกอกเวอร์จิ้นสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์บุผิวหลอดเลือดได้ดีขึ้น
ที่มา : Fuentes F, López-Miranda J, Pérez-Martinez P, et al. Chronic effects of a highfat diet enriched with virgin olive oil and a low-fat diet enriched with alphalinolenic acid on postprandial endothelial function in healthy men. Br J Nutr 2008;100:159–65.
ต้านอักเสบในผู้ป่วยโรคหัวใจ
ที่มา : Fito, M., Cladellas, M., De la Torre, R., Martí, J., Muñoz, D., Schröder, H., ... & Covas, M. I. (2007). Anti-inflammatory effect of virgin olive oil in stable coronary disease patients: a randomized, crossover, controlled trial. European journal of clinical nutrition, 62(4), 570-574.
ที่มา Ruano, J., López-Miranda, J., de la Torre, R., Delgado-Lista, J., Fernández, J., Caballero, J., ... & Pérez-Jiménez, F. (2007). Intake of phenol-rich virgin olive oil improves the postprandial prothrombotic profile in hypercholesterolemic patients. The American journal of clinical nutrition, 86(2), 341-346.
ที่มา Bendinelli, B., Masala, G., Saieva, C., Salvini, S., Calonico, C., Sacerdote, C., ... & Panico, S. (2011). Fruit, vegetables, and olive oil and risk of coronary heart disease in Italian women: the EPICOR Study. The American journal of clinical nutrition, 93(2), 275-283.
เป็นการศึกษาแบบ Three arm randomized trial ศึกษาในผู้ทดสอบ 418 คนที่ไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน , มีอายุระหว่าง 55 – 80 ปี โดยกลุ่มควบคุมมีการให้ความรู้ในการรับประทานอาหารไขมันต่ำ (low-fat diet) กลุ่มทดสอบให้รับประทานอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนโดยแบ่งเป็นให้เน้นการบริโภคถั่ว หรือ เน้นบริโภคน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ทุกกลุ่มอนุญาตให้รับประทานอาหารได้เต็มที่ และไม่มีการแนะนำให้ออกกำลังกาย และมีการติดตามผลเป็นเวลา 4 ปี พบว่าอัตราการเกิดโรคเบาหวานลดลง 51 และ 52 % ในกลุ่มที่รับประทานอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนที่เน้นน้ำมันะกอก และถั่วตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่รับประทานอาหารไขมันต่ำ
การรับประทานน้ำมันมะกอกเวอร์จิ้นที่อุดมไปด้วยสารฟีนอลสามารถลดการจับตัวกันของลิ่มเลือดภายหลังมื้ออาหารในผู้ที่มีภาวะระดับคลอเรสเตอรอลในเลือดสูง
เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่ม โดยมีการออกแบบการศึกษาแบบไขว้ โดยศึกษาในอาสาสมัครที่มีภาวะระดับคลอเรสเตอรอลในเลือดสูงจำนวน 21 คน โดยให้รับประทานอาหารเช้าทีมีส่วนประกอบเป็นน้ำมันมะกอกที่มีระดับสารประกอบฟินอลิกแตกต่างกันคือ 80 ppm และ 400 ppm พบว่ากลุ่มที่รับประทานน้ำมันมะกอกที่มีสารประกอบฟินอลิกสูงจะมีภาวะการก่อลิ่มเลือดต่ำกว่ากลุ่มที่รับประทานน้ำมันมะกอกที่มีสารประกอบฟินอลิกต่ำ
ที่มา Ruano, J., López-Miranda, J., de la Torre, R., Delgado-Lista, J., Fernández, J., Caballero, J., ... & Pérez-Jiménez, F. (2007). Intake of phenol-rich virgin olive oil improves the postprandial prothrombotic profile in hypercholesterolemic patients. The American journal of clinical nutrition, 86(2), 341-346.
ลดอุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจในผู้หญิงชาวอิตาลี
เป็นการศึกษาระยะยาวแบบติดตามไปข้างหน้าเป็นเวลา 7.85 ปีในผู้หญิงชาวอิตาลีจำนวน 29,689 คน (46.6% เป็นวัยหมดประจำเดือน ) อายุกลุ่มที่ศึกษาอยู่ในช่วง 50 + 7.9 ปีพบว่า การบริโภคผักใบในปริมาณมากกว่า 170 กรัมต่อวัน และน้ำมันมะกอกมากกว่า 30 กรัม(2-3ช้อนโต๊ะ) ต่อวัน สามารลดอุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจได้ประมาณ 40%
ความดันโลหิต
ลดความดันโลหิตช่วงบีบตัว(Systolic blood pressure)
เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่ม และมีกลุ่มควบคุม โดยมีการออกแบบการศึกษาแบบไขว้ (Randomized Control Trial Crossover Study) ศึกษาในอาสาสมัครสุขภาพดีเพศชาย จำนวน 160 คน อายุเฉลี่ย 33.3 ปี จากประเทศแถบยุโรป 5 ประเทศ (ฟินแลนด์, เดนมาร์ค, เยอรมัน, อิตาลี และ สเปน) โดย แบ่งกลุ่มให้รับประทานน้ำมันมะกอกที่มีปริมาณสารประกอบฟินอลิกแตกต่างกัน (สูง 366 ppm, กลาง 164 ppm และ น้อย 2.7 ppm) เป็นเวลา 3 สัปดาห์ และมีระยะพัก 2 สัปดาห์ พบว่าการรับประทานน้ำมันมะกอกสามารถลดความดันเลือดช่วงหัวใจบีบในผู้ทดสอบที่อยู่ในประเทศที่ไม่ได้รับประทานอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียน
ที่มา : Bondia-Pons, I., Schröder, H., Covas, M. I., Castellote, A. I., Kaikkonen, J., Poulsen, H. E., ... & López-Sabater, M. C. (2007). Moderate consumption of olive oil by healthy European men reduces systolic blood pressure in non-Mediterranean participants. The Journal of nutrition, 137(1), 84-87.
ที่มา : Bondia-Pons, I., Schröder, H., Covas, M. I., Castellote, A. I., Kaikkonen, J., Poulsen, H. E., ... & López-Sabater, M. C. (2007). Moderate consumption of olive oil by healthy European men reduces systolic blood pressure in non-Mediterranean participants. The Journal of nutrition, 137(1), 84-87.
เป็นการศึกษาของมูลจากผู้สูงอายุที่พักอาศัยในบ้านพักคนชราในประเทศสเปน ซึ่งสามารถควบคุมโภชนการของอาหารที่ได้รับในแต่ละวันได้ ศึกษาในผู้สูงอายุเพศหญิงจำนวน 42 คน และเพศชายจำนวน 20 คน ซึงใน 62 คนนี้มี 31 คนมีระดับความดันโลหิตปรกติ และอีก 31 คนมีระดับความดันโลหิตสูง โดยแบ่งกลุ่มให้รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยน้ำมันมะกอก(ที่มีสารประกอบฟินอลิก 232 ppm และ สควอลีน 3709 ppm) หรือ น้ำมันทานตะวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ และมีระยะพัก 4 สัปดาห์ พบว่าการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยน้ำมันมะกอกสามารถลดควาดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัวในผู้สูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูงให้กลับมาปรกติได้
ที่มา : Perona, J. S., Cañizares, J., Montero, E., Sánchez-Domı́nguez, J. M., Catalá, A., & Ruiz-Gutiérrez, V. (2004). Virgin olive oil reduces blood pressure in hypertensive elderly subjects. Clinical Nutrition, 23(5), 1113-1121.
ที่มา : Perona, J. S., Cañizares, J., Montero, E., Sánchez-Domı́nguez, J. M., Catalá, A., & Ruiz-Gutiérrez, V. (2004). Virgin olive oil reduces blood pressure in hypertensive elderly subjects. Clinical Nutrition, 23(5), 1113-1121.
เบาหวาน
ลดอุบัติการณ์การเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2
ที่มา : Salas-Salvadó, J., Bulló, M., Babio, N., Martínez-González, M. Á., Ibarrola-Jurado, N., Basora, J., ... & Ros, E. (2011). Reduction in the Incidence of Type 2 Diabetes With the Mediterranean Diet Results of the PREDIMED-Reus nutrition intervention randomized trial. Diabetes Care, 34(1), 14-19.
ทีมา Farnetti, S., Malandrino, N., Luciani, D., Gasbarrini, G., & Capristo, E. (2011). Food fried in extra-virgin olive oil improves postprandial insulin response in obese, insulin-resistant women. Journal of Medicinal Food, 14(3), 316-321.
ที่มา : Wolk, A., Bergstrom, R., Hunter, D., Willett, W., Ljung, H., Holmberg, L., ... & Adami, H. O. (1998). A prospective study of association of monounsaturated fat and other types of fat with risk of breast cancer. Archives of internal medicine,158(1), 41.
ที่มา : Garcıa-Segovia, Purificación, et al. "Olive oil consumption and risk of breast cancer in the Canary Islands: a population-based case-control study." Public Health Nutr 9 (2006): 163-7.
การใช้น้ำมันมะกอกประกอบอาหารช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองต่ออินซูลินภายหลังมื้ออาหารในผู้หญิงอ้วนที่มีภาวะดื้ออินซูลิน
เป็นการศึกษาในผู้หญิงอ้วนที่มีภาวะดื้ออินซูลินโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ทั้ง 2 กลุ่มได้รับประทานอาหารชนิดเดียวกัน แต่ใช้วิธีประกอบอาหารต่างกัน พบว่ากลุ่มที่ใช้วิธีการทอดและผัดด้วยน้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้นมีการตอบสนองต่ออินซูลินดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ใช้วิธีการทอด และผัด
มะเร็ง
การบริโภคไขมันไม่อิ่มตัวพันธะเดี่ยว (Monounsaturated Fat) อาจป้องกันความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมได้
เป็นการศึกษาตามดูกลุ่มคนแบบไปข้างหน้า (Prospective Cohort Study) ศึกษาในผู้หญิงชาวสวีเดนจำนวน 61,471 คน อายุระหว่าง 40 – 76 ปี ซึ่งยังไม่เคยได้รับการตรวจโรคมะเร็งมาก่อน โดยทำจดหมายเชิญกลุ่มผู้หญิงที่สนใจมารับการตรวจเมมโมแกรม พร้อมให้กรอกแบบสอบถามอย่างละเอียด ทั้งนี้จะมีการคัดขึ้นกลุ่มที่อาจส่งผลให้การศึกษาคลาดเคลื่อนออกจากการประเมินโดยพิจารณาจากแบบสอบถาม พบว่าการบริโภคไขมันไม่อิ่มตัวพันธะเดี่ยวเป็นประจำมีแนวโน้มที่ป้องกันความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมได้ ในขณะที่การบริโภคไขมันไม่อิ่มตัวหลายพันธะอาจเพิ่มความเสี่ยง และการบริโภคไขมันอิ่มตัวไม่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมที่มา : Wolk, A., Bergstrom, R., Hunter, D., Willett, W., Ljung, H., Holmberg, L., ... & Adami, H. O. (1998). A prospective study of association of monounsaturated fat and other types of fat with risk of breast cancer. Archives of internal medicine,158(1), 41.
![]() |
Breast Cancer Ribbon |
การรับประทานน้ำมันมะกอกมีบทบาทในการป้องกันมะเร็งเต้านมในผู้หญิงชาวคะแนรี่
เป็นการศึกษากรณีศึกษาของผู้ที่ป่วยเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ป่วย (Case Control Study) ศึกษาในผู้หญิงที่ได้รับการตรวจเนื้อเยื้อแล้วพบว่าเป็นมะเร็งเต้านมในระยะแรกจำนวน 326 คนจากโรงพยาบาลบนเกาะคะแนรี และผู้หญิงทั่วไปชาวคะแนรี่ที่คัดเลือกจากการสำรวจทางโภชนาการอีก 492 คน โดยสัมภาษณ์ตัวต่อตัวเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคอาหารและการเป็นมะเร็งเต้านม พบผลการสำรวจสนับสนุนว่าการบริโภคน้ำมันมะกอกมีผลในทางป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมของผู้หญิงชาวคะแนรี่ที่มา : Garcıa-Segovia, Purificación, et al. "Olive oil consumption and risk of breast cancer in the Canary Islands: a population-based case-control study." Public Health Nutr 9 (2006): 163-7.
การรับประทานน้ำมันมะกอกลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
เป็นการศึกษาแบบกรณีศึกษาของผู้ป่วยเปรียบเทียบกับผู้ไม่ป่วย (Case Control Study) ศึกษาในผู้ป่วยชาวเบลเยียม 200 ราย และผู้ไม่ป่วย 386 ราย โดยรวบรวมข้อมูลการบริโภคอาหารของผู้ที่ป่วย และไม่ป่วยที่ศึกษา พร้อมมีการปรับแต่งปัจจัยอื่นๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อความถูกต้องในการประเมินข้อมูล พบว่าการรับประทานน้ำมันมะกอกอาจให้ผลในการป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะในขณะที่การรับประทานเนยแข็ง(Cheese)อาจเพิ่มความเสี่ยง
ที่มา : Brinkman, M. T., Buntinx, F., Kellen, E., Van Dongen, M. C., Dagnelie, P. C., Muls, E., & Zeegers, M. P. (2011). Consumption of animal products, olive oil and dietary fat and results from the Belgian case–control study on bladder cancer risk. European Journal of Cancer, 47(3), 436-442.
ที่มา : Stoneham, Michael, et al. "Olive oil, diet and colorectal cancer: an ecological study and a hypothesis." Journal of epidemiology and community health 54.10 (2000): 756-760.
ที่มา : Samieri, C., Féart, C., Proust-Lima, C., Peuchant, E., Tzourio, C., Stapf, C., ... & Barberger-Gateau, P. (2011). Olive oil consumption, plasma oleic acid, and stroke incidence The Three-City Study. Neurology, 77(5), 418-425.
ที่มา : Berr, C., Portet, F., Carriere, I., Akbaraly, T. N., Feart, C., Gourlet, V., ... & Ritchie, K. (2009). Olive oil and cognition: results from the three-city study.Dementia and geriatric cognitive disorders, 28(4), 357-364.
ผลการศึกษา : กลุ่มที่บริโภคอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนที่เน้นการรับประทานน้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้นจะมีผลการทดสอบสมรรถนะการรับรู้ดีที่สุดและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่รับประทานอาหารไขมันต่ำ
ที่มา : Martinez-Lapiscina, E. H., Clavero, P., Toledo, E., San Julian, B., Sanchez-Tainta, A., Corella, D., ... & Martinez-Gonzalez, M. Á. (2012). Virgin olive oil supplementation and long-term cognition: the Predimed-Navarra randomized, trial. The journal of nutrition, health & aging, 1-9.
ที่มา : Berbert, A. A., Kondo, C. R. M., Almendra, C. L., Matsuo, T., & Dichi, I. (2005). Supplementation of fish oil and olive oil in patients with rheumatoid arthritis.Nutrition, 21(2), 131-136.
ที่มา : Razquin, C., J. A. Martinez, M. A. Martinez-Gonzalez, M. T. Mitjavila, R. Estruch, and A. Marti. "A 3 years follow-up of a Mediterranean diet rich in virgin olive oil is associated with high plasma antioxidant capacity and reduced body weight gain." European journal of clinical nutrition 63, no. 12 (2009): 1387-1393.
ที่มา: Flynn, Mary M., and Steven E. Reinert. "Comparing an olive oil-enriched diet to a standard lower-fat diet for weight loss in breast cancer survivors: a pilot study." Journal of Women's Health 19.6 (2010): 1155-1161.
ที่มา P. Schieberle, V. Somoza, M. Rubach, L. Scholl, M. Balzer; Identifying substances that regulate satiety in oils and fats and improving low-fat foodstuffs by adding lipid compounds with a high satiety effect; Key findings of the DFG/AiF cluster project "Perception of fat content and regulating satiety: an approach to developing low-fat foodstuffs," 2009-2012.
การได้รับกรดไขมันไม่อิ่มตัวพันธะเดี่ยวจากน้ำมันพืชมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
เป็นการศึกษาแบบกรณีศึกษาของผู้ป่วยเปรียบเทียบกับผู้ไม่ป่วย (Case Control Study) ศึกษาในผู้ป่วยชาวนิวซีแลนด์ 317 ราย และผู้ไม่ป่วย 480 ราย พบว่าการรับประทานน้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวพันธะเดี่ยวสูง เช่นน้ำมันมะกอก มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่งในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
ที่มา Norrish, A. E., Jackson, R. T., Sharpe, S. J., & Skeaff, C. M. (2000). Men who consume vegetable oils rich in monounsaturated fat: their dietary patterns and risk of prostate cancer (New Zealand). Cancer Causes & Control, 11(7), 609-615.
การรับประทานน้ำมันมะกอกเป็นน้ำมันบริโภคอาจป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
เป็นการศึกษาภาพรวม (Ecological Study) ศึกษาใน 28 ประเทศจาก 4 ทวีป โดยรวบรวมข้อมูลระดับนานาชาติที่มีอยู่ ได้แก่ อุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, ข้อมูลการบริโภคอาหาร และน้ำมันมะกอก และหาความสัมพันธ์ระหว่างอุบัติการณ์เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กับการบริโภคอาหาร(โดยวิธีการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคณแบบเป็นขั้นตอน) พบว่า 76% ของการแปรผันภายในประเทศของอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหาร 3 ชนิด ได้แก่ เนื้อ, ปลา และน้ำมันมะกอก โดยที่การบริโภคเนื้อ และ ปลามีความสัมพันธ์กับอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในทางบวก ในขณะที่การบริโภคน้ำมันมะกอกมีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้าม อาจสรุปได้ว่าการบริโภคน้ำมันมะกอกอาจมีผลในทางการป้องกันในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
ที่มา : Stoneham, Michael, et al. "Olive oil, diet and colorectal cancer: an ecological study and a hypothesis." Journal of epidemiology and community health 54.10 (2000): 756-760.
สมองเสื่อม/โรคสมอง
ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ (Stroke)
เป็นการศึกษาแบบ The Three-City Study ศึกษาความเสี่ยงในประชากรของประเทศฝรั่งเศส 3 เมือง ได้แก่ Bordeaux (2,104 คน), Dijon (4,931 คน)และ Montpellier (2,259 คน) รวมจำนวน 9,294 คนในช่วงปีคศ. 1999 - 2000 พบว่าประชากรที่รับประทานน้ำมันมะกอกเป็นประจำจะลดอุบัติการณ์ความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบได้ 41%ที่มา : Samieri, C., Féart, C., Proust-Lima, C., Peuchant, E., Tzourio, C., Stapf, C., ... & Barberger-Gateau, P. (2011). Olive oil consumption, plasma oleic acid, and stroke incidence The Three-City Study. Neurology, 77(5), 418-425.
การบริโภคน้ำมันมะกอกเป็นประจำอาจให้ผลดีในด้านการรับรู้ในผู้สูงอายุ
เป็นการศึกษาแบบ The Three-City Study ศึกษาความเสี่ยงในประชากรที่อายุมากกว่า 65 ปีของประเทศฝรั่งเศส 3 เมือง ได้แก่ Bordeaux, Dijon และ Montpellier โดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานและนำผู้ทดสอบที่คัดเลือกมาทำแบบทดสอบความสามารถในการรับรู้ต่างๆ พบว่ามีความเป็นไปได้สำหรับผู้สูงอายุที่บริโภคน้ำมันมะกอกเป็นประจำจะแสดงความบกพร่องในการรับรู้(Cognitive deficit)ต่ำกว่าผู้สูงอายุที่ไม่ได้บริโภคน้ำมันมะกอกที่มา : Berr, C., Portet, F., Carriere, I., Akbaraly, T. N., Feart, C., Gourlet, V., ... & Ritchie, K. (2009). Olive oil and cognition: results from the three-city study.Dementia and geriatric cognitive disorders, 28(4), 357-364.
การบริโภคอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนที่เน้นการรับประทานน้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้นเป็นระยะเวลานานจะช่วยปรับปรุงสมรรถนะในการรับรู้(Cognitive function)ของผู้สูงวัยได้ดีกว่าการรับประทานอาหารไขมันต่ำ
เป็นการศึกษา Predimed (หน่วยงานที่ศึกษาเกี่ยวกับโภชนาการเพื่อการป้องกันการเกิดโรคหัวใจ) ศึกษาในกลุ่มประชากรผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามการบริโภคอาหารคือ แบบเมดิเตอร์เรเนียนที่เน้นน้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้น, แบบเมดิเตอร์เรเนียนที่เน้นถั่ว และแบบอาหารควบคุมไขมัน เป็นเวลา 6.5 ปีแล้วนำมาทำการทดสอบสมรรถนะการรับรู้ผลการศึกษา : กลุ่มที่บริโภคอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนที่เน้นการรับประทานน้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้นจะมีผลการทดสอบสมรรถนะการรับรู้ดีที่สุดและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่รับประทานอาหารไขมันต่ำ
ที่มา : Martinez-Lapiscina, E. H., Clavero, P., Toledo, E., San Julian, B., Sanchez-Tainta, A., Corella, D., ... & Martinez-Gonzalez, M. Á. (2012). Virgin olive oil supplementation and long-term cognition: the Predimed-Navarra randomized, trial. The journal of nutrition, health & aging, 1-9.
โรคข้ออักเสบ
การรับประทานน้ำมันมะกอกร่วมกับน้ำมันปลาจะทำให้อาการของผู้ป่วยข้ออักเสบดีขึ้น
เป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่ม และมีกลุ่มขนาน (a parallel randomized design) ศึกษาในผู้ป่วย 43 คน (หญิง 34 , ชาย 9) ที่มีอายุเฉลี่ย 49 ปี โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกให้รับประทานน้ำมันถั่วเหลือง, กลุ่มที่สองให้รับประทานน้ำมันปลาอย่างเดี่ยว, กลุ่มที่สามให้รับประทานน้ำมันปลาร่วมกับน้ำมันมะกอก พบว่าอาการของผู้ป่วยในกลุ่มที่ให้น้ำมันปลาอย่างเดียว และน้ำมันปลาร่วมกับน้ำมันมะกอกมีการพัฒนาไปในทางที่ดีทั้ง 2 กลุ่ม แต่กลุ่มที่ให้น้ำมันปลาร่วมกับน้ำมะกอกจะทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นชัดเจนกว่าที่มา : Berbert, A. A., Kondo, C. R. M., Almendra, C. L., Matsuo, T., & Dichi, I. (2005). Supplementation of fish oil and olive oil in patients with rheumatoid arthritis.Nutrition, 21(2), 131-136.
โรคกระดูกพรุน
การรับประทานอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนที่อุดมไปด้วยน้ำมันมะกอกช่วยป้องกันการสูญเสียของมวลกระดูกได้
เป็นการศึกษาแบบติดตามระยะยาวเป็นเวลา 2 ปีในผู้สูงอายุจำนวน 127 คน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามการบริโภคอาหารคือ แบบเมดิเตอร์เรเนียนที่เน้นน้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้น, แบบเมดิเตอร์เรเนียนที่เน้นถั่ว และแบบอาหารควบคุมไขมัน และติดตามค่าบงชี้การสร้างกระดูก พบว่ากลุ่มที่รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยน้ำมันมะกอกมีค่าบ่งชี้การสร้างมวลกระดูกเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
ที่มา Fernández-Real, José Manuel, et al. "A Mediterranean diet enriched with olive oil is associated with higher serum total osteocalcin levels in elderly men at high cardiovascular risk." Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism97.10 (2012): 3792-3798.
โรคอ้วน
เพิ่มประสิทธิภาพการต้านอนุมูลอิสระในเลือดซึ่งเกี่ยวข้องกับการลดน้ำหนัก
เป็นการศึกษา Predimed (หน่วยงานที่ศึกษาเกี่ยวกับโภชนาการเพื่อการป้องกันการเกิดโรคหัวใจ) ซึ่งมีการคัดเลือกผู้ที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคหัวใจมาจำนวน 1055 คนจากศูนย์ PREDIMED-UNAV แล้วแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่รับประทานอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนที่เน้นน้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้น, กลุ่มที่รับประทานอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนที่เน้นถั่ว และกลุ่มที่รับประทานอาหารไขมันต่ำ หลังจากนั้นติดตามผลอีก 3 ปีหลังจากคัดเลือกแล้ว โดยเลือกสุ่มมาศึกษาจำนวน 187 คน(กลุ่มอาหารไขมันต่ำ 59 คน, กลุ่มน้ำมัีนมะกอก 65 คน และกลุ่มถั่ว 63คน) พบว่ากลุ่มที่รับประทานอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนที่เน้นน้ำมันมะกอกจะมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระรวมในเลือดสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ และมีความกับการลดลงของน้ำหนักตัว
ลดอุบัติการณ์การเกิดโรคอ้วนในผู้ที่รับประทานน้ำมันมะกอก
เป็นการศึกษาการติดตามกลุ่มประชากรแบบไปข้างหน้า (A population-based cohort study ) ศึกษาในผู้ที่ถูกเลือกแบบสุ่มจำนวน 613 คน จาก 1226 คน ที่มีอายุระหว่าง 18 – 65 ปี โดยทำการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารโดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่รับประทานน้ำมันมะกอก และกลุ่มที่รับประทานน้ำมันทานตะวัน ใช้เวลาศึกษาเป็นเวลา 6 ปี พบว่าอุบัติการณ์การเกิดโรคอ้วนพบในกลุ่มที่บริโภคน้ำมันทานตะวันมากกว่ากลุ่มที่บริโภคน้ำมันมะกอก
ที่มา : Soriguer, F., Almaraz, M. C., Ruiz-de-Adana, M. S., Esteva, I., Linares, F., García-Almeida, J. M., ... & Rojo-Martínez, G. (2009). Incidence of obesity is lower in persons who consume olive oil. European journal of clinical nutrition,63(11), 1371-1374.การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยน้ำมันมะกอกสามารถช่วยในการลดน้ำหนักได้ดีกว่าอาหารไขมันต่ำในกลุ่มผู้หญิงที่เคยเป็นมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม
เป็นการศึกษานำร่อง (A Pilot study ) ศึกษาในผู้หญิงที่เคยเป็นมะเร็งเต้านมระยะลุกลามจำนวน 44 คน โดยที่มี 28 คนที่อยู่ร่วมจนสิ้นสุดการศึกษา โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มหนึ่งให้รับประทานอาหารไขมันต่ำ ส่วนอีกลุ่มรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยน้ำมันมะกอกชนิดเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้น ทั้งนี้มีการควบคุมพลังงานที่ได้รับจากอาหารในแต่ละวันเท่ากันทั้ง 2 กลุ่มคือ 1500 แคลอรี่ โดยให้รับประทานเป็นเวลา 8 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้ผู้ทดสอบตัดสินใจเลือกเองว่าจะรับประทานอาหารแบบไหนต่ออีก 6 เดือน พบว่ากลุ่มที่รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยน้ำมันมะกอกมีน้ำหนักตัวลดลงได้ดีกว่ากลุ่มที่รับประทานอาหารไขมันต่ำ และเมื่อให้ผู้ทดสอบตัดสินใจเลือกรูปแบบรับประทานอาหารต่ออีก 6 เดือนพบว่าส่วนใหญ่จะเลือกรับประทานรูปแบบอาหารที่อุดมไปด้วยน้ำมันมะกอกที่มา: Flynn, Mary M., and Steven E. Reinert. "Comparing an olive oil-enriched diet to a standard lower-fat diet for weight loss in breast cancer survivors: a pilot study." Journal of Women's Health 19.6 (2010): 1155-1161.
เพิ่มระดับฮอร์โมนเซอโรโทนินในเลือดทำให้รู้สึกอิ่มนาน
เป็นการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างน้ำมันมะกอก และน้ำมันอื่นๆ(น้ำมันหมู, น้ำมันคาโนล่า และเนย) เป็นเวลา 3 เดือน พบว่ากลุ่มที่ได้รับน้ำมันมะกอกจะมีระดับฮอร์โมนเซอโรโทนินในเลือดสูงสุด และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับน้ำมันมะกอก และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับพบว่า กลุ่มที่ได้รับน้ำมันมะกอกมีปริมาณการบริโภคอาหารที่เท่าเดิม ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีปริมาณการบริโภคอาหารที่เพิ่มขึ้น
ผิวพรรณ
ป้องกันการเสื่อมของผิวเนื่องจากแสงแดด
เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (a cross section study) ศึกษาในผู้หญิง 1264 คน และ ผู้ชาย 1655 คน ที่มีอายุระหว่าง 45 – 60 ปี โดยสำรวจพฤติกรรมการบริโภคกรดไขมันไม่อิ่มตัวพันธะเดี่ยวเป็นเวลา 2.5 ปี จากนั้นนำผู้ที่ถูกสำรวจมาตรวจสอบการถูกทำลายของผิวเนื่องจากแสงแดด พบว่าการรับประทานกรดไขมันไม่อิ่มตัวพันธะเดี่ยวในปริมาณมากจะช่วยป้องกันความชราของผิวเนื่องจากแสงแดด(Photoaging)ได้ที่มา : Latreille, J., Kesse-Guyot, E., Malvy, D., Andreeva, V., Galan, P., Tschachler, E., ... & Ezzedine, K. (2012). Dietary Monounsaturated Fatty Acids Intake and Risk of Skin Photoaging. PloS one, 7(9), e44490.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นในส่วนนี้ได้ค่ะ