วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

น้ำมันมะกอก ต้าน มลพิษ

รับประทานน้ำมะกอกต้านมลพิษ ปกป้องหัวใจ


ทราบหรือไม่ว่ามลภาวะที่เป็นพิษทางอากาศมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค และเพิ่มอัตราการตายของโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ, หลอดเลือดสมอง และมะเร็งปอด

มีการศึกษาในอาสาสมัครสุขภาพดีอายุระหว่าง 50-72 ปี โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มรับประทานน้ำมันปลาเสริม 3 กรัมต่อวัน, กลุ่มรับประทานน้ำมันมะกอกเสริม 3 กรัมต่อวัน และกลุ่มควบคุมคือไม่ได้เสริมอะไร เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ จากนั้นให้อาสาสมัครเข้าไปอยู่ในสภาวะอากาศที่สะอาดเป็นเวลา 2 ชั่วโมงเพื่อวัดค่ามาตรฐานประสิทธิภาพการทำงานของเยื้อบุผนังหลอดเลือด และการสลายลิ่มเลือด และวันถัดไปจึงให้อาสาสมัครเข้าไปอยู่ในตู้สภาวะอากาศที่มีฝุ่นละออง (เฉลี่ย 253 ไมโครกรัม ต่อ ลูกบาศก์เมตร) ผลปรากฏว่ามีแต่กลุ่มที่ได้รับน้ำมันมะกอกเสริมเท่านั้นที่ประสิทธิภาพการทำงานของเยื่อบุผนังหลอดเลือด และการสลายลิ่มเลือดให้ผลดีที่สุด


ซึ่งจากการศึกษานี้สรุปได้ว่าน้ำมันมะกอกสามารถปกป้องผลเสียที่จะเกิดกับเส้นเลือดเนื่องจากมลภาวะทางอากาศได้




ที่มา
  • Medscape. (2014). Olive Oil Might Have Protective Effect Against Air Pollution (Online). Availabel : http://www.medscape.com/viewarticle/825585   ,[2014  September 26]
  • Brook, Robert D., et al. "Particulate matter air pollution and cardiovascular disease an update to the scientific statement from the American Heart Association." Circulation 121.21 (2010): 2331-2378.
  • Andersen, Zorana J., et al. "Stroke and long-term exposure to outdoor air pollution from nitrogen dioxide a cohort study." Stroke 43.2 (2012): 320-325.
  • Turner, Michelle C., et al. "Long-term ambient fine particulate matter air pollution and lung cancer in a large cohort of never-smokers." American journal of respiratory and critical care medicine 184.12 (2011): 1374-1381.
  • Rappold, A. G., et al. "Olive Oil Supplements Ameliorate Endothelial Dysfunction Caused By Concentrated Ambient Particulate Matter Exposure In Healthy Human Volunteers." Am J Respir Crit Care Med 189 (2014): A2446.

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

น้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้นต้านพิษพืช GM

เราอาจเคยได้ยินเรื่องพืช GM (Genetically Modified Crops) มาบ้าง ซึ่งก็คือพืชที่มีการตัดแต่งพันธุกรรม (หรือที่เราเรียกว่าดีเอ็นเอ) เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น ให้ทนต่อสภาพแวดล้อมมากขึ้น  มีผลผลิตมากขึ้น ทนต่อศัตรูพืชมากขึ้น หรือมีอายุการเก็บรักษายืนยาวขึ้น เป็นต้น
Photo CR: http://www.socialphy.com/posts/
off-topic/10816/Genetically-Modified-Food.html

มาดูประวัติพืช GM เบาๆ

ในปีค.ศ. 1994 อเมริกาเป็นประเทศแรกที่อนุญาติให้มีการปลูกพืช GM ในเชิงพาณิชย์และมีการรับรองความปลอดภัย ซึ่งพืชชนิดนั้นก็คือมะเขือเทศที่มีการตัดแต่งพันธุกรรมให้สุกช้ากว่าปรกติสามารถเก็บได้นาน  และในปีเดียวกันยุโรปก็อนุญาติให้มีการปลูกยาสูบที่มีการตัดแต่งพันธุกรรมให้ทนต่อยากำจัดวัชพืชมากขึ้นได้ในเชิงพาณิชย์  

ในปีต่อๆมาจนถึงปัจจุบันประเทศอเมริกาก็มีการอนุญาติให้ปลูกพืช GM หลายชนิดขึ้นซึ่งได้แก่ มันฝรั่ง, ข้าวโพด, คาโนล่า, ฝ้าย, ถั่วเหลือง, สควอช, ชูการ์บีท และมะละกอ

ในปีค.ศ. 2012 มี 28 ประเทศที่มีการปลูกพืช GM ในเชิงพาณิชย์ เช่น อเมริกา, จีน, อาร์เจนติน่า, บราซิล, แคนนาดา และอินเดียเป็นต้น  สำหรับในประเทศไทยยังไม่อนุญาติให้มีการปลูกพืช GMO ในเชิงพาณิชย์  แต่มีการทดลองปลูกในเชิงการทดลอง ดังเช่นการทดลองปลูกมะละกอฮาวายในปี 2540 โดยเป็นโครงการร่วมกับมหาวิทยาลัยคอร์เนล สหรัฐอเมริกา เพื่อแก้ปัญหาไวรัสจุดวงแหวนในมะละกอ

ถั่วเหลือง GM เป็นพืชที่มีการปลูกมากที่สุดในบรรดาพืช GM  ด้วยกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอเมริกา ข้อมูลในปี 2014 94% ของถั่วเหลืองในอเมริกาเป็นถั่วเหลือง GM และถั่วเหลืองเหล่านี้ไม่ได้ขายกันในเฉพาะประเทศอเมริกาเท่านั้นได้มีการส่งออกไปยังประเทศต่างๆหลายประเทศ
  
การบริโภคถั่วเหลือง GM นั้นนอกจากจะพิจารณาจากการบริโภคถั่วเหลืองโดยตรงแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่มีการแปรรูปจากถั่วเหลือง เช่นโปรตีน และแป้งจากถั่วเหลือง เต้าหู และอื่นๆ  รวมถึงการนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหารมนุษย์อีกทีก็ควรมีการพิจารณาด้วย

พืช GM ปลอดภัย หรือ อันตราย

มีงานวิจัยพอสมควรในเรื่องความปลอดภัยของพืช GM ซึ่งก็คงมีความปลอดภัยในระดับหนึ่งถึงอนุญาติให้ใช้เป็นอาหารมนุษย์ได้ตั้งแต่เมื่อ 20 ปีที่แล้ว  แต่ก็มีข้อสังเกตุว่างานวิจัยส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยของหน่วยงานที่มีความข้องเกี่ยวกับผู้ผลิตพืช GM  และงานวิจัยบางส่วนก็ใช้สัตว์ที่ไม่ใช้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนมนุษย์ หรือใช้เวลาการศึกษาสั้นไป

ในระยะหลังมีบางงานวิจัยที่พบผลเสียในสัตว์ทดลองที่กินพืช GM เป็นเวลานานๆ เช่น พบข้างเคียงต่อตับและไตในหนูที่กินพืช GM เป็นระยะเวลา 90 วัน, การศึกษาในหนูที่ให้กินข้าวโพด GM ระยะยาวเป็นเวลา 2 ปีแล้วพบว่าหนูมีอัตตราการตายสูงขึ้น และมีการเกิดเนื้องอก โรคตับและไตสูงขึ้น และการศึกษาในสุกรที่ให้กินพืช GM (ข้าวโพด และถั่วเหลือง) เป็นเวลา 22.7 สัปดาห์แล้วพบว่าสุกรมีการอักเสบที่กระเพาะเพิ่มขึ้น และมดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น



น้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้นต้านการทำลายดีเอ็นเอจากถั่วเหลือง GM

น้ำมันมะกอกเป็นน้ำมันเพื่อสุขภาพชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะน้ำมันมะกอกชนิดเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้นซึ่งเป็นน้ำมันที่มีปริมาณสารประกอบฟินอลิกอยู่สูงกว่าน้ำมันชนิดอื่นๆ  สารประกอบฟินอลิกในน้ำมันมะกอกมีคุณสมบัติเด่นในการต้านออกซิเดชั่น และต้านอักเสบ

อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าในบรรดาพืช GM ทั้งหมดถั่วเหลือง GM จะมีการปลูกมากสุดและมีโอกาสกลายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารให้ผู้บริโภครับประทานมากที่สุด  และก็มีบางรายงานที่ได้แสดงให้เห็นว่าสัตว์ทดลองที่บริโภคพืช GM จะมีการเกิดออกซิเดชั่น และ DNA ถูกทำลายมากขึ้น  จึงได้มีการศึกษาผลของความสามารถในการต้านออกซิเดชั่น และการปกป้อง DNA ของน้ำมันมะกอกชนิดเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้นในหนูทดลองที่ให้กินอาหารผสมถั่วเหลือง GM เป็นเวลา 65 วัน แล้วพบว่า

หนูกลุ่มที่ได้รับอาหารผสมถั่วเหลือง GM เพียงอย่างเดียวจะมีการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันที่สูงขึ้น ในขณะที่เอนไซม์กำจัดพิษ(กลูต้าไธโอนทรานส์เฟอเรส)มีการทำงานลดลง และมีปริมาณ DNA ของม้ามลดลงจากปรกติ

เมื่อเปรียบเทียบกับหนูที่ได้รับอาหารผสมถั่วเหลือง GM ร่วมกับน้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้นพบว่าจะให้ผลในทางตรงข้ามคือมีการออกซิเดชั่นของไขมันลดลง การทำงานของกูลต้าไธโอนทรานส์เฟอเรสสูงขึ้น และมีปริมาณ DNA ของม้ามสูงขึ้นจนใกล้เคียงค่าปรกติ

นอกจากนี้น้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้นยังแสดงถึงประสิทธิภาพในการลดความเป็นพิษต่อยีนที่ถูกรบกวนด้วยการได้รับถั่วเหลือง GM ในหนูทดลอง

จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการต้านการทำลาย DNA  และการต้านการเกิดออกซิเดชั่นของน้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้น  ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่นตับอักเสบ, เบาหวาน และมะเร็งเป็นต้น



ถือว่ายังเป็นโชคดีของคนไทยที่พืช GM ยังไม่ได้ถูกอนุญาติให้ปลูกในเชิงพาณิชย์  แต่ก็เข้าใจความจำเป็นในการวิจัยพืช GM เพื่อมารองรับในสภาพการณ์ในปัจจุบันที่โลกเราอาหารกำลังจะคลาดแคลน เนื่องจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น   ถ้าจะมีการนำเทคโนโลยีพืช GM มาใช้ในไทยจริงๆ ก็อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาผลได้ผลเสียให้ดีก่อน และมีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนในการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้


ที่มา

  1. Wikipedia. (2014). Genetically modified crops (Online). Available : http://en.wikipedia.org/wiki/Genetically_modified_crops (July 15,  2014)
  2. GMO Compass. (2007). Countries growing GMOs (Online). Available : http://www.gmo-compass.org/eng/agri_biotechnology/gmo_planting/142.countries_growing_gmos.html (July 15, 2014)
  3. มูลนิธิชีววิถี. (2003). มะละกอ จีเอ็มโอ (GMOs) บทเรียนจากฮาวายสู่เกษตรกรไทย (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.biothai.net/news/4903 (15 กรกฎาคม 2557)
  4. USDA. (2014). Recent Trends in GE Adoption (online). Available : http://www.ers.usda.gov/data-products/adoption-of-genetically-engineered-crops-in-the-us/recent-trends-in-ge-adoption.aspx#.U8TrrJR_vUw (July 15, 2014)
  5. Domingo, J. L., & Giné Bordonaba, J. (2011). A literature review on the safety assessment of genetically modified plants. Environment International, 37(4), 734-742.
  6. Carman, J. A., Vlieger, H. R., Ver Steeg, L. J., Sneller, V. E., Robinson, G. W., Clinch-Jones, C. A., ... & Edwards, J. W. (2013). A long-term toxicology study on pigs fed a combined genetically modified (GM) soy and GM maize diet.Journal of Organic Systems, 8(1), 38-54.
  7. El-Kholy, T. A., Hilal, M. A., Al-Abbadi, H. A., Serafi, A. S., Al-Ghamdi, A. K., Sobhy, H. M., & Richardson, J. R. (2014). The Effect of Extra Virgin Olive Oil and Soybean on DNA, Cytogenicity and Some Antioxidant Enzymes in Rats.Nutrients, 6(6), 2376-2386.
  8. Foodconsumer. (2014). Extra virgin olive oil reduces DNA damage induced by GM soybean (Online). Available : http://www.foodconsumer.org/newsite/Nutrition/Food/olive_oil_dna_damage_0701140114.html (July 15, 2014)
  9. Oliveoiltimes. (2014). Study Reveals EVOO May Reduce DNA Damage from GMO soybean (Online). Available : http://www.oliveoiltimes.com/olive-oil-health-news/olive-oil-may-reduce-dna-damage-gmo-soybean/40424 (July 15, 2014)

วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

บริโภคน้ำมันมะกอก ดีต่อสุขภาพหัวใจ

ทุกท่านอาจจะพอได้ทราบมาบ้างว่าน้ำมันมะกอกจัดเป็นน้ำมันเพื่อสุขภาพชนิดหนึ่ง  มีการศึกษามากมายที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของน้ำมันมะกอกต่อสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ

มีการศึกษาของ Predimed ในประชากรสเปนขนาดใหญ่ล่าสุดที่เผยแพร่ในวารสาร BMC Medicine (พฤษภาคม 2014)  ซึ่งเป็นการศึกษาในกลุ่มชายหญิงจำนวนกว่า 7000 คน ในช่วงอายุ 55-80 ปีที่มีอัตราความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจสูง(ได้แก่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน, มีน้ำหนักตัวมาก, สูบบุหรี่, ความดันโลหิตสูง, ระดับคอลเรสเตอรอลสูงเป็นต้น)  โดยเป็นการศึกษาแบบติดตามไปข้างหน้าเป็นเวลาเกือบ 5 ปี

พบว่ากลุ่มที่มีการบริโภคน้ำมันมะกอกโดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้นมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจลดลงมากกว่า 30% และลดอัตราการตายเนื่องจากโรคหัวใจได้เกือบ 50%  

นอกจากนี้ในการศึกษานี้ยังกล่าวไว้ว่า ในทุกๆการบริโภคน้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้นที่เพิ่มขึ้น10 กรัมต่อวันจะลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจได้ 10% และลดอัตราการตายเนื่องจากโรคหัวใจได้ 7%

และการศึกษานี้ได้สรุปไว้ว่าการรับประทานน้ำมันมะกอกโดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้นมีความข้องเกี่ยวในการลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ และลดอัตราการตายเนื่องจากโรคหัวใจในผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจสูง
Photo CR: http://www.sheknows.com/health-and-wellness/
articles/807624/7-preventable-heart-disease-risk-factors


ถึงแม้ว่าน้ำมันมะกอกจะไม่ใช่น้ำมันพืชประกอบอาหารพื้นฐานของบ้านเรา  แต่เห็นประโยชน์อย่างนี้แล้วลองหาติดบ้านไว้ซักขวดสำหรับใช้ประกอบอาหารบางมื้อทดแทนน้ำมันปาล์มที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูงก็น่าจะดีต่อสุขภาพหัวใจของเราน่ะค่ะ


ที่มา
Guasch-Ferré, Marta, Frank B. Hu, Miguel A. Martínez-González, Montserrat Fitó, Mònica Bulló, Ramon Estruch, Emilio Ros et al. "Olive oil intake and risk of cardiovascular disease and mortality in the PREDIMED Study." BMC Medicine 12, no. 1 (2014): 78.

วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

น้ำมันมะกอก กับการดีท๊อกซ์

มาล้างสารพิษแบบง่ายๆกัน


สิ่งที่ต้องเตรียม :


สำหรับดื่มก่อนนอน


น้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้น ½ ถ้วยตวง

น้ำเกรปฟรุ๊ต (ถ้าไม่มีใช้น้ำเลมอนแทนก็ได้) ¾ ถ้วยตวง
เกรปฟรุ๊ต
photo cr: topfoodfact.com


สำหรับดื่มตอนเช้า


น้ำสะอาด 240 มล.

ดีเกลือฝรั่ง(Epsom salt หรือ MgSO4.7H2O) 1 ช้อนโต๊ะ

เลมอน (มะนาวเหลือง) 1 ลูก
เลมอน
photo cr: www.fairtrasa.com


วิธีการ

ถ้าจะล้างสารพิษวันไหน ให้วันนั้นเลือกรับประทานอาหารที่เน้นผัก และผลไม้ ลดอาหารประเภทเนื้อสัตว์ และไขมัน พยามยามเลือกรับประทานอาหารที่ผ่านกระบวนการน้อยๆ และไม่มีการใช้วัตถุเจือปน

รับประทานอาหารเย็นไม่เกิน 16.00 น.

ผสมน้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้น และน้ำเกรปฟรุ๊ต เขย่าให้เข้ากัน ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง แล้วนำมาดื่มช่วงประมาณ 22.30 น. จากนั้นก็เข้านอน

ในตอนเช้าเมื่อตื่นนอนให้ดื่มน้ำที่ผสมกับดีเกลือฝรั่ง และน้ำเลมอน ซึ่งจะให้ผลดีที่สุดควรดื่มโดยใช้หลอด

ที่มา http://www.all4naturalhealth.com/olive-oil-cleanse.html



สูตรน้ำเลมอนผสมน้ำมันมะกอก สำหรับการล้างสารพิษ


ส่วนประกอบ


มะนาวเลมอน 1 ลูก

น้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้น 1 ช้อนโต๊ะ

น้ำสะอาด 1 แก้วครึ่ง

วิธีทำ


ล้างเลมอนให้สะอาด แล้วตัดแต่งเปลือกส่วนที่เป็นรอยช้ำ หรือรอยด่างดำออก แล้วหั่นเป็นชิ้นหยาบๆ (หั่นทั้งเปลือก)

นำเลมอนที่หั่นแล้วไปใส่ในเครื่องปั่นน้ำผลไม้ จากนั้นเติมน้ำมันมะกอก และน้ำ แล้วปั่นผสมให้เข้ากันเป็นเวลาประมาณ 1 นาที แล้วกรองเอากากออก เก็บส่วนที่เป็นน้ำไว้ดื่ม

การดื่ม


ดื่มเพื่อล้างสารพิษ : ให้ดื่มตอนเช้าหลังตื่นนอน (ประมาณ 1 ชั่วโมงก่อนทานอาหารเช้า)

ดื่มเพื่อเจริญอาหาร : แบ่งเป็น 3 ส่วนเก็บไว้รับประทานพร้อมอาหารทั้ง 3 มื้อ



ที่มา curezone.org/foods/lemonolive.asp

วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

น้ำมันมะกอก กับการป้องกันการอักเสบ



ถ้าท่านใดเคยทานน้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้นแล้วรู้สึกเผ็ด(peppery) หรือแสบคอ(stinging) หรือ เคืองคอ (irritation) นิดหน่อยเวลากลืนลงคอ นั้นคือคุณลักษณะของสารประกอบฟินอลิกที่ชื่อว่า โอลีโอแคนธัล(oleocanthal) ซึ่งจะพบเฉพาะในน้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้นที่มีการสกัดสดๆเท่านั้น(1)

รูปโครงสร้างของโอลีโอแคนธัล

ก่อนหน้านี้ดิฉันได้เขียนบทความสารประกอบฟินอลิกในน้ำมันมะกอกและได้กล่าวถึงสารประกอบหลักๆ 2 ตัว คือ ไฮดรอกซีไทโรซอล(Hydroxytyrosol) และ โอรียูโรพีอีน(oleuropein)(คลิ๊ก) ซึ่งอนุพันธุ์ของมันยังสามารถกลายเป็นสารประกอบฟินอลิกได้อีกมากมาย โอลีโอแคนธัลก็เป็นหนึ่งในนั้น และงานวิจัยในระยะหลังเริ่มให้ความสำคัญกับสารตัวนี้ว่ามีคุณสมบัติในการต้านอักเสบ(anti-inflammatory effect)ได้เช่นเดียวกับยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอย
ด์(NSAID) เช่นไอบูโพรเฟน(ibuprofen) นอกจากนั้นยังพบว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อเทียบที่น้ำหนักโมเลกุลที่เท่ากัน(1,2)

โอลีโอแคนธัลสามารถยับยั้งเอนไซม์ไซโคลออกซีจีเนส(COX) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้กรดไขมันอะแรกชิโดนิก(arachidonic acid, ARA) เปลี่ยนเป็นพรอสตาแกลนดิน(prostaglandins, PG) และทรอมโบเซน(thromboxane) ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบและก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย เอนไซม์ COX โดยเฉพาะอย่างยิ่ง COX2 เป็นเอนไซม์ที่มีส่วนร่วมกับการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็งหลายๆชนิด, โรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัว(atherosclerosis)
ด้วยเหตุนี้จึงเกิดความเชื่อที่อาจเป็นไปได้ว่าการได้รับสารโอลีโอแคนธัลในปริมาณต่ำๆ เป็นระยะเวลานานจากการรับประทานน้ำมันมะกอกเป็นประจำมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลดอุบัติการณ์การเกิดโรคต่างๆของชาวเมดิเตอร์เรเนียน(2)

ถ้าเราทานน้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้นวันละ 50 กรัม หรือ ประมาณ 4 ช้อนโต๊ะ เราจะได้รับสารโอลีโอแคนธัล 10 มก. ต่อวัน ซึ่งเทียบเท่ากับ 10% ของปริมาณยาต้านอักเสบอย่างไอบูโพรเฟนที่ขนาดรับประทานสำหรับผู้ใหญ่ ทั้งนี้มีรายงานวิจัยแนะนำว่าการได้รับยาต้านอักเสบอย่างเช่นไอบูโพรเฟน และยาต้านเอนไซม์ COX อื่นๆในปริมาณต่ำๆเป็นเวลานานจะสามารถช่วยป้องกันการพัฒนาของโรคมะเร็ง(เช่นมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งเต้านม) และโรคหัวใจหลอดเลือด(CVD) ได้(2)

การอักเสบเป็นสาเหตุของโรคต่างๆมากมายได้แก่ มะเร็งบางชนิด, โรคที่เกี่ยวข้องกับการเสื่อมของระบบประสาท, โรคที่เกี่ยวข้องกับการเสื่อมของข้อ และโรคหลอดเลือดหัวใจแข็ง การได้รับโอลีโอแคนธัลจากน้ำมันมะกอกเป็นประจำจะสามารถลดการอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเหล่านี้ได้

โรคที่เกี่ยวข้องกับการเสื่อมของระบบประสาท
โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคที่พบได้ในผู้สูงอายุซึ่งสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ยังไม่เป็นที่แน่ชัดแต่เชื่อว่าอาจมาจาก 2 สาเหตุ โดยสาเหตุแรกคือ การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของโปรตีนเทา(tau) โดยมีการเติมหมู่ฟอสเฟตเข้าไป(phosphorylation) ทำให้โปรตีนเทามีการเปลี่ยนโครงสร้างพันกันเป็นก้อนยุ่งเหยิง(tau fribrillization)ส่งผลให้การสื่อสารของระบบประสาทผิดไป จากการศึกษาในหลอดทดลองพบว่าโอลีโอแคนธัลสามารถลดการเกิดการพันกันของโปรตีนเทาได้(2)  ส่วนสาเหตุที่สองของการเป็นโรคอัลไซเมอร์คือ การสะสมของโปรตีนบีต้าอะไมลอยด์(amyloid β, Aβ) ซึ่งอนุพันธุ์ของมันมีความเป็นพิษต่อสมอง จากการศึกษาในหลอดทดลองพบว่าโอลีโอแคนธัลจะไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอนุพันธ์นั้น และเพิ่มการกำจัดออกของภูมิต้านทาน(antibody)(2)

โรคที่เกี่ยวข้องกับการเสื่อมของข้อ
โอลีโอแคนธัลสามารถยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ COX ลดการผลิตไนไตรท์ และสารก่ออักเสบต่างๆที่เป็นสาเหตุของโรคข้ออักเสบได้(2)

โรคมะเร็ง
โอลีโอแคนธัลมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง และกระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็งได้(2)


งานวิจัยล่าสุด(ปี 2013)ของน้ำมันมะกอก กับคุณสมบัติในการต้านอักเสบ

การต้านโรคลำใส้อักเสบ(ulcerative colitis)
หนูทดลองกลุ่มที่ได้รับอาหารที่อุดมไปด้วยสารประกอบฟินอลิกในน้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้น จะมีค่าบ่งชี้ของการเกิดโรค และมีการแสดงออกถึงการอักเสบลดลงโดยเชื่อว่าสารประกอบฟินอลิกในน้ำมันมะกอกเกี่ยวข้องกับการต้านอักเสบผ่านการกระตุ้นพีพาร์แกมม่า(PPARg), การลดสัญญาณของวิถี NF-kB และ MAPK(3)

ลดการผลิตสารชักนำการอักเสบ(inflammatory mediators)
ส่วนประกอบที่ซาพอนิไฟด์ไม่ได้(ส่วนที่เหลือจากน้ำมันทำปฏิกิริยากับด่าง เช่น สเตอรอล) สามารลดการผลิตอนุมูลอิสระ และไนไตรท์ในเซลล์ภูมิคุ้มกันแมคโครฟากของหนูทดลองที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการอักเสบได้ และนอกจากนี้ยังลดการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสารชักนำการอักเสบ(4) นอกจานี้ยังมีการศึกษาในหลอดทดลองโดยสกัดเซลล์ภูมิคุ้มกันโมโนซัยท์จากอาสาสมัครสุขภาพดี แล้วนำมาศึกษาการผลิตอิออนซุปเปอร์ออกไซด์(O2-) , พรอสตาแกลนดินอีทู(PGE2) และทูเมอร์เนโครติกแฟกเตอร์ (TNFα) ของเซลล์ภูมิคุ้มกันภายหลังจากที่ได้รับสารประกอบฟินอลิกจากน้ำมันมะกอกพบว่ามีการผลิตสารเหล่านั้นลดลงซึ่งเป็นคุณสมบัติเช่นเดียวกับยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์(NSAID)(5)

ป้องกันการเสื่อมของกระดูกอ่อนเนื่องจากโรคข้อเสื่อม(osteoarthritis)
การอักเสบที่บริเวณข้อจะทำให้ลูบริซิน(lubricin)ซึ่งเป็นสารน้ำที่ปกป้องบริเวณข้อต่อลดลง และเป็นเหตุให้เกิดการเสื่อมของกระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อได้เมื่อเกิดการเสียดสี
จากการศึกษาในหนูทดลองที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อต่อและมีการให้น้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้นร่วมกับการบำบัดด้วยการวิ่งบนสายพานพบว่าสารน้ำลูบริซินมีปริมาณเพิ่มขึ้น และมีการอักเสบลดลงจนกลับมาสู่ระดับปรกติ(6)

เพิ่มความสามารถในการต้านอักเสบของคอลเรสเตอรอลชนิดดี(HDL)
โดยปรกติผู้สูงอายุมักจะมีกลไกในการต้านอักเสบลดลงจึงได้มีการศึกษาผลของการรับประทานน้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้นในคนหนุ่มสาว และผู้สูงอายุพบว่าการรับประทานน้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้นเป็นเวลา 12 สัปดาห์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการต้านอักเสบของHDL และลดการเสื่อมเนื่องจากอายุที่ทำให้กิจกรรมการต้านอักเสบลดลง(7)

นอกจากการรับประทานแล้วการทาภายนอกก็สามารถป้องกันการอักเสบต่างๆได้ เช่นใช้ทาป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยสูงอายุที่เคลื่อนที่ไม่ได้(8) หรือใช้นวดในผู้ป่วยหัวเข่าอักเสบ(knee osteoarthritis) โดยพบว่ามีคุณสมบัติเทียบเท่ากับยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์(NSAID)(9) 

ที่มา
  1. Boskou, D., Tsimidou, M., & Blekas, G. (2006). Polar phenolic compounds.Olive oil. Chemistry and technology, 2, 73-92.
  2. Cicerale, S., Lucas, L. J., & Keast, R. S. J. (2012). Oleocanthal: a naturally occurring anti-inflammatory agent in virgin olive oil. Olive Oil-Constituents, Quality, Health Properties and Bioconversions, 357-374.
  3. Sánchez-Fidalgo, S., Cárdeno, A., Sánchez-Hidalgo, M., Aparicio-Soto, M., & de la Lastra, C. A. (2013). Dietary extra virgin olive oil polyphenols supplementation modulates DSS-induced chronic colitis in mice. The Journal of nutritional biochemistry.
  4. Cardeno, A., Sanchez-Hidalgo, M., Aparicio-Soto, M., & Lastra, C. A. D. L. (2013). Unsaponifiable fraction from extra virgin olive oil inhibits the inflammatory response in lps-activated murine macrophages. Food Chemistry.
  5. Rosignoli, P., Fuccelli, R., Fabiani, R., Servili, M., & Morozzi, G. (2013). Effect of olive oil phenols on the production of inflammatory mediators in freshly isolated human monocytes. The Journal of nutritional biochemistry.
  6. Musumeci, G., Trovato, F. M., Pichler, K., Weinberg, A. M., Loreto, C., & Castrogiovanni, P. (2013). Extra-virgin olive oil diet and mild physical activity prevent cartilage degeneration in an osteoarthritis model: an< i> in vivo</i> and< i> in vitro</i> study on lubricin expression. The Journal of Nutritional Biochemistry.
  7. Loued, S., Berrougui, H., Componova, P., Ikhlef, S., Helal, O., & Khalil, A. (2013). Extra-virgin olive oil consumption reduces the age-related decrease in HDL and paraoxonase 1 anti-inflammatory activities. British Journal of Nutrition, 1-13.
  8. Lupiáñez-Pérez, I., Morilla-Herrera, J. C., Ginel-Mendoza, L., Martín-Santos, F. J., Navarro-Moya, F. J., Sepúlveda-Guerra, R. P., ... & Morales-Asencio, J. M. (2013). Effectiveness of olive oil for the prevention of pressure ulcers caused in immobilized patients within the scope of primary health care: study protocol for a randomized controlled trial. Trials, 14(1), 348.
  9. AlMalty, A. M., Hamed, S., AbuTariah, H., & Jebril, M. (2013). The effect of Topical Application of Extra Virgin Olive Oil on Alleviating Knee Pain in Patients with Knee Osteoarthritis: a Pilot Study. Indian Journal of Physiotherapy and Occupational Therapy-An International Journal, 7(3), 6-11.